มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
ตึกคณะนิติศาสตร์ของยูซีแอลเอ
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ลอสแอนเจลิส
The University of California UCLA.svg
คติพจน์ Fiat lux (ละติน)
คติพจน์อังกฤษ Let there be light (จงให้มีความสว่าง)
สถาปนา 1882/1919 (เป็นวิทยาเขตที่สองในระบบ UC)
ประเภท มหาวิทยาลัยรัฐ
ทุนทรัพย์ US $2.59 พันล้าน [1]
อธิการบดี จีน ดี. บล็อก[2]
Provost สก๊อต แอล. วอก[3]
จำนวนอาจารย์ 4,016[4]
จำนวนเจ้าหน้าที่ 26,139
จำนวนผู้ศึกษา 39,945 (2012)[5]
จำนวน ป.ตรี 27,941 (2012)[5]
จำนวนบัณฑิตศึกษา 12,004 (2012)[5]
ที่ตั้ง ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
34°04′20.00″N 118°26′38.75″W / 34.0722222°N 118.4440972°W / 34.0722222; -118.4440972พิกัดภูมิศาสตร์: 34°04′20.00″N 118°26′38.75″W / 34.0722222°N 118.4440972°W / 34.0722222; -118.4440972
วิทยาเขต เมือง
1.7 km²[6]
ชื่อเดิม มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตใต้ (1919–1927)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอส แอนเจลีส (1927–1958)
หนังสือพิมพ์ Daily Bruin (บรูนส์รายวัน)
สีประจำสถาบัน      สีฟ้ายูซีแอลเอ[7]
     California Gold[7]
การกรีฑา ทีมกีฬา 22 ทีท
NCAA Division I
ฉายา UCLA Bruins บรูนส์
มาสคอต โจและโจเซฟีน บรูนส์ [8]
เครือข่าย สมาพันธ์มหาวิทยาลัยอเมริกัน
สมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก
Pacific-12 Conference
เว็บไซต์ ucla.edu
UCLA Logo.svg

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (ยูซีแอลเอ หรือ UCLA) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่ทำการวิจัยตั้งอยู่ในเขตเวสต์วูต ของมหานครลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย[9] ยูซีแอลเอเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาเป็นระบบของรัฐบาลและถือเป็นมหาวิทยาลัยระบบไอวีลีคของรัฐบาล[10][11][12][13] มหาวิทยาลัยเปิดสอนให้แก่นักเรียนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจำนวนกว่า 337 หลักสูตรในสาขาวิชาที่หลากหลาย[14] มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอยังเป็นวิทยาลัยที่มีนักศึกษามากที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีจำนวนนักศึกษาในระดับปปริญญาตรีกว่า 28,000 คนและระดับบัณฑิตศึกษาอีกกว่า 12,000 คน[15] ทั้งนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักเรียนสมัครเข้าศึกษามากที่สุดในอเมริกา[16]

สำหรับการจัดระบบการเรียนการสอนนั้น มีการแบ่งเป็นวิทยาลัยสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาตรี 5 วิทยาลัย วิทยาลัยวิชาชีพสำหรับบัณฑิตศึกษา 7 วิทยาลัย และโรงเรียนแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอีก 4 โรงเรียน วิทยาลัยก่อนบัณฑิตศึกษาได้แก่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ โรงเรียนวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เฮนรี ซามูเอลี โรงเรียนศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ โรงเรียนการละคร ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ และโรงเรียนการพยาบาล ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 15 คน[17][18] Fields Medal 1 คน[19] และผู้ได้รับรางวัล Turing Award 2 คน[20]มีความเกี่ยวกับกับมหาวิทยาลัยในฐานะคณาจารย์ นักวิจัย และศิษย์เก่า สำหรับคณาจารย์ปัจจุบัน คณาจารย์ 51 ท่านถูกเลือกเป็นสมาชิกของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ระดับประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States National Academy of Sciences) 22 ท่านเป็นสมาชิกวิศวกรรมศาสตร์ระดับประเทศของสหรัฐอเมริกา (National Academy of Engineering) 37 ท่านเป็นสมาชิกของสถาบันแพทยศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) และ 120 ท่านเป็นสมาชิกของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์อเมริกัน (American Academy of Arts and Sciences) [21] มหาวิทยาลัยได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสมาพันธ์มหาวิทยาลัยอเมริกัน (Association of American Universities) ในปี 1974[22]

นักกีฬามหาวิทยาลัยของ UCLA ร่วมการแข่งขันกับต่างสถาบันโดยใช้ชื่อบรูนส์ยูซีแอลเอในการแข่งขัน Pacific-12 Conference บรูนส์ได้ชิงชนะเลิศรายการระดับประเทศกว่า 125 รายการซึ่งร่วมถึงรายการ National Collegiate Athletic Association 109 รายการ ทำให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ชั้นนำของประเทศอเมริกาเลยก็ว่าได้[23][24] นักกีฬามหาวิทยาลัยของ UCLA ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก 250 เหรียญ: ทอง 125 เงิน 65 และทองแดง 60 [25] บรูนส์ได้แข่งขันในกีฬาโอลิมปิกทุกครั้งตั้งแต่ปี 1920 โดยมีข้อยกเว้นแค่หนึ่งปี (1924) และได้เหรียญทองอย่างน้อยหนึ่งเหรียญทุกๆครั้งให้กับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1932[26]

ประวัติ[แก้]

ในเดือนมีนาคมปี 1881 หลังจากได้รับการผลักดันจากชาวลอสแอนเจลิส ฝ่ายนิติบัญญัติแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียได้อนุมัติการก่อตั้งมหาวิทยาลัยครูรัฐแคลิฟอร์เนียขึ้น (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยรัฐซาน โฮเซ) เพื่อรองรับการเติมโตของประชากรในแคลิฟอร์เนียใต้มหาวิทยาลัยครูได้เปิดสอนในวันที่ 29 สิงหาคม 1882 โดยตั้งอยู่บนที่ตั้งห้องสมุดหลักของระบบห้องสมุดลอสแอนเจลิสในปัจจุบัน โครงการดังกล่าวยังมีโรงเรียนประถม ให้ครูใหม่ทดลองการสอนนักเรียนด้วย โรงเรียนประถมดังกล่าวได้กลายมาเป็นโรงเรียนสาธิต UCLA ในปัจจุบัน ในปี 1887 วิทยาลัยเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยครูลอสแอนเจลิส[27]

มหาวิทยาลัยครูรัฐแคลิฟอร์เนีย สาขาลอสแอนเจลิสในปี 1881

ในปี 1914 โรงเรียนได้ย้ายไปที่ถนนเวอร์มอนต์ ต่อมาในปี 1917 ผู้ว่าการมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแอ็ดเวิร์ด ดิกสันซึ่งเป็นผู้ว่าการเพียงคนเดียวทางตอนใต้ของรัฐและเออร์เนสต์ มอร์ ผู้ว่าการมหาวิทยาลัยครูเริ่มพยายามผลักดันให้ฝ่านนิติบัญญัติยกระดับให้โรงเรียนเป็นมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งที่สองให้จงได้ หลังตั้งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ พวกเขาถูกต่อต้านจากกลุ่มศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์และฝ่ายนิติบัญญัติจากทางเหนือของรัฐรวมไปถึงเบนจามีน วีเลอร์ ประธานของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปี 1899 จนถึง 1919 โดยกลุ่มคนหล่าวนี้ไม่เห็นด้วยกับการเปิดวิทยาเขตทางใต้ ต่อมาเดวิด เพสคอตต์ บาร์โรส์ ประธานมหาวิทยาลัยคนใหม่มีความคิดที่แตกต่างและการผลักดันของชาวแคลิฟอร์เนียใต้ก็เกิดผลในวันที่ 23 พฤษภาคม 1919 เมื่อเจ้าเมืองได้ลงนามในร่างกฎหมาย Assembly Bill 626 ซึ่งส่งผลให้ควบรวมวิทยาลัยครูลอสแอนเจลิสกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียให้กลายเป็นสาขาทางตอนใต้ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทั้งนี้ยังมีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีและก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์[28] วิทยาเขตใต้เปิดการเรียนการสอนในวันที่ 15 กันยายนของปีเดียวกันโดยมีนักเรียนเพียง 250 คนในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์และ 1,250 คนในหลักสูตรครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สาขาใต้ วิทยาเขตเวอร์มอนต์ 1922

ภายหลังจากนั้นไม่นาน นักเรียนก็เริ่มเข้าไปเรียนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเมื่อถึงกลางทศวรรติที่ 1920 สถาบันได้ขยาย 25 เอเคอร์ในเวอร์มอนต์ ผู้ว่าการทั้งหลายเริ่มค้นหาตำแหน่งใหม่ให้กับมหาวิทยาลัยและได้ประกาศว่าจะเลือก "พื้นที่แถบเบเวอลี" ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเล็กน้อยของเขตเบเวอลีฮิลส์ หลังจากที่ทีมกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในเกม Pacific Coast ในปี 1926 วทยาเขตใต้ได้ใช้ชื่อ "บรูนส์" ซึ่งมอบให้โดยสมาคมนักเรียนของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ในตอนนั้น[29] ในปี 1927 ผู้ว่าการได้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น "มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส" (โดยคำว่า "ที่" ถูกเอาออกและแทนด้วยเครื่องหมายคอมมาในภาษาอังกฤษในปี 1958 เพื่อทำให้เหมือนกับวิทยาเขตอื่นๆ)

อาคาร 4 อาคารแรกของวิทยาเขตคือห้องสมุดประจำวิทยาลัย หอประชุมรอยส์ อาคารฟิสิกส์และชีววิทยา และอาคารเคมี (ซึ่งคือห้องสมุดพาเวลล์ หอปะชุมรอยส์ ตึกมนุษยศาสตร์ และตึกเฮนส์ในปัจจุบันตามลำดับ) มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1.6 km² นักเรียนรุ่นแรกที่เรียนที่นี่ในปี 1929 มีอยู่ 5,500 คนและต่อมาคณาจารย์และศิษย์รวมไปถึงฝ่ายบริหารและผู้นำชุมชนได้ร่วมกันผลักดันให้ยูซีแอลเอมอบปริญญามหาบัณฑิตในปี 1933 และปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 1936 แม้ว่าจะได้รับแรงต้านจากเบิร์กลีย์เสมอมา[30]

ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัย[แก้]

UCLA ได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยใหเท่าเทียมกับเบิร์กลีย์ในปี 1951 เมื่อเรมอนด์ บี. อัลเลนรับตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรก ต่อมา การแต่งตั้งให้แฟรงก์ลิน เดวิด เมอร์ฟีเป็นอธิการบดีในปี 1960 ก็ได้ช่วยให้มหาวิทยาลัยและคณาจารย์เติบโตอย่างรวดเร็วมากตลอดช่วงการรับตำแหน่ง ปลายทศวรรติ ยูซีแอลเอได้รับชื่อเสียงในหลากหลายสาขาวิชาและทำให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเอกเทศและไม่ต้องพึ่งพาอาศัยระบบมหาวิทยาลัยยูซีอีกต่อไป เมอร์ฟีได้อธิบายว่า:

"ผมยกหูโทรศัพท์แล้วโทรมาจากที่ใดสักที่หนึ่ง คนที่รับสายบอกว่า 'มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย' ผมจึงบอกว่า 'ที่นี่เบิร์กลีย์หรือเปล่า' เธอตอบว่า 'ไม่ใช่' ผมจึงพูดต่อว่า 'แล้วผมกำลังเรียนสายกับที่ไหนอยู่' 'ยูซีแอลเอ' ผมถามต่อ 'แล้วทำไมคุณถึงไม่พูดว่ายูซีแอลเอล่ะ' เขาบอกว่า 'เราได้รับคำสั่งให้พูดว่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียค่ะ' เช้าวันต่อมาผมไปที่ออฟฟิศแล้วเขียนบันทึกย่อว่า 'โปรดบอกกับพนักงานรับโทรศัพท์ด้วยว่า ตอนที่รับสาย ให้พูดว่า "ยูซีแอลเอ"' มีคนบอกผมว่า 'พวกเบิร์กลีย์จะไม่ชอบเอานะ' ผมจึงบอกต่อไปว่า 'ดูดีๆสิ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราทำเองได้ที่นี่โดยไม่ต้องไปขออนุญาตจากใคร'" [31]

ไฟล์:220px-UCLA Bruin.jpg
The Bruin statue, designed by Billy Fitzgerald, in Bruin Plaza.[32]

ในปี 2006 มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในแคมเปญ UCLA ที่ได้รับเงินกว่า $3.05 พันล้านซึ่งเป็นจำนวนที่มากเป็นที่สองสำหรับมหาวิทยาลัยรัฐ[33][34] ในปี 2008 ยูซีแอลเอได้รับเงินบริจาคกว่า $456 ล้านโดยได้รับมากเป็น 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยอเมริกาของปีนั้นๆ[35]

ในวันที่ 26 มกราคม 2011 ครอบครัวลุสกินได้บริจาคเงินกว่า $100 ล้านให้กับยูซีแอลเอ[36] ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011 ยูซีแอลเอได้รับเงินบริจาคกว่า $200 ล้านโดยมูลนิธิลินซีเพื่อก่อตั้งกองทุนสร้างฝันเพื่อเป็นการสนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์และทางวิชาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนที่ยูซีแอบเอ [37]

วิทยาเขต[แก้]

ตอนที่ยูซีแอลเอเพิ่งเปิดวิทยาเขตใหม่ในปี 1929 วิทยาเขตที่อาคารเพียงสี่แห่ง ได้แก่ห้องสมุดประจำวิทยาลัย หอประชุมรอยส์ อาคารฟิสิกส์และชีววิทยา และอาคารเคมี บันไดเจนส์เป็นบันได 87 ขั้นที่เมื่อขึ้นไปแล้วจะถึงอาคารเรียนทั้งสี่แห่งนี้ ปัจจุบัน วิทยาเขตมีอาคารกว่า 163 อาคารภายในวิทยาเขตขนาด1.7 km² ตามตะวันตกของลอสแอนเจลิส ทางตอนเหนือของเขตการค้าเวสต์วูตทางใต้ของถนนซันเซต หากพิจรณาขนาดของวิทยาเขต วิทยาลัยมีขนาดเล็กที่สุดใน 10 แห่ง [6] วิทยาเขตอยู่ใกล้กับทางด่วนหมายเลข 405[38]

วิทยาเขตมีสวนศิลป์ น้ำตก พิพิธภัณฑ์ และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่หลากหลายล้อมรอบโดยเบลแอร์ เบเวอลีฮิลส์ และเบรนต์วูต นักศึกษาชอบแบ่งวิทยาเขตเป็นทางเหนือกับทางใต้ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ทางตะวันออกของพื้นที่ วิทยาเขตเหนือมีอาคารที่เก่าแก่และมีอิฐที่นำมาจากอิตาลี โดยเป็นที่จัดการเรียนการสอนวิชาในหมู่ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ วิทยาเขตใต้เป็นที่จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา วัสดุศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การแพทย์ยูซีแอลเอ

บันใดแจนส์

สมาคมแอ็กเคอร์แมน ศูนย์กีฬาจอน วูเดน ศูนย์สุขภาพอาเธอร์ แอช ศูนย์กิจกรรมนักศึกษา หอประชุมเคอร์ฮอฟ ศูนย์เจ. ดี. มอร์แกน ศูนย์ศิษย์เก่าเจมส์ เวสต์ และศาลาพาวลีตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของวิทยาเขตเป็นอยู่ใกล้กับจตุรัสวิลสัน บรุส์วอกเป็นถนนที่ตัดผ่ากลางวิทยาเขตเป็นถนนที่นักเรียนเดินจากอาคารเรียนไปยังหอพักนักศึกษา

จตุรัสวิวสันเป็นที่ๆนักท่องเที่ยวจะมีถ่านภาพกับมหาวิทยาลัยโดยมีชื่อเสียงมาก

สถาปัตยกรรม[แก้]

อาคารเรียนแรกๆของมหาวิทยาลัยได้รับการออกแบบโดยบริษัทออกแบบท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายจนถึงช่วงปี 1950 เมื่อได้มีการว่าจ้างให้สถาปนิกเวลตัน เบ็กเก็ตมาทำหน้าที่ดูแลการขยายวิทยาลัยเป็นเวลาประมาณยี่สิบปี เบ็กเก็ตปรับรูปแบบให้อาคารดูสบายตาขึ้นโดยเพิ่มตึกที่สร้างในรูปแบบของลัทธิจุลนิยมทางตอนใต้ของพื้นที่ อาคารที่ใหญ่ที่สุดคืออาคารของศูนย์การแพทย์[39] หลังจากนั้นมีสถาปนิกมีชื่อเสียงหลายคนมาออกแบบอาคารให้กับอาคารโดยเฉพาะช่วงหลังที่มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยก่อสร้างอาคารเรียนและพื้นที่โดยรอบพร้อมๆกันหลายจุดรวมไปถึงพื้นที่ที่ใช้สอบวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีคนให้ฉยามหาวิทยาลัยว่า UCLA "Under Construction Like Always" แปลเป็นไทยว่า ไม่เคยหยุดที่จะก่อสร้าง[40]

Royce Hall, one of the original four buildings, inspired by Basilica of Sant'Ambrogio

ตึกที่สูงที่สุดคือราฟ บันช์ที่ตั้งชื่อตามนักศึกษาอเมริกันผิวดำที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1950 สำหรับการช่วยต่อรองปัญหาระหว่างชาวยิวและมุสลิมในพื้นที่ของประเทศอิสรเอล ทั้งนี้ยังมีรูปปั้นของเขาตั้งอยู่หลังตึกหันเข้าหาสวนศิลป์ จึงทำให้เขาเป็นชาวอเมริกันผิวดำคนแรกที่ได้รับการเชิดชูจากยูซีแอลเอในระดับสูงเพียงนี้

สวนญี่ปุ่นฮานา คาร์เตอร์ตั้งอยู่ห่างจากวิทยาเขตไปประมาณหนึ่งไมล์ในชุมชนเบลแอร์ นากาโอะ ซากุระอิเป็นนักออกแบบภาคพื้นจากโตเกียวออกแบบสวนดังกล่าวในปี 1959 หลังจากถูกทำลายเพราะฝนตกหนักในช่วงปี 1969 ศาสตราจารย์ UCLA ผู้เชียวชาญด้านศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์วิทยาเขตชื่อโคอิจิ คะนะวะเป็นผู้ริเริ่มโครงการฟื้นฟู

การถ่ายภาพยนตร์[แก้]

เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับฮอลิวูดและมีโรงเรียนการละครที่มีชื่อเสียง วิทยาเขตของยูซีแอลเอได้รับความสนใจให้เป็นที่ถ่านภาพยนตร์เป็นอย่างมากเป็นเวลานานกว่าสิบปีแล้ว ภาพยนตร์หลายเรื่องตั้งแต่ปี 1985 เช่น Gotcha! Higher Learning (1995) ก็ได้ถ่ายทำที่นี่ Legally Blonde (2001) Old School (2003), The Nutty Professor (1995), Erin Brockovich (2000), How High (2001), National Lampoon's Van Wilder (2002), American Pie 2 (2001), และ Bring It On Again (2004) ได้ทำการถ่ายทำส่วยใหญ่ที่มหาวิทยาลัย ภาพยนตร์บอลลิวูตเรื่อง My Name is Khan ก็ถ่ายทำที่นี่รวมไปถึงรายการโทรทัศน์หลายรายการเช่น Greek ด้วย เพื่อเป็นการจัดการการถ่ายทำภาพยนตร์ที่มากมายในยูซีแอลเอ ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์และถ่ายภาพอาชีพในบริเวณวิทยาเขต[41]

ศูนย์วิจัยระดับบนาโนของแคลิฟอร์เนียภายในมหาวิทยาลัย

การเรียนการสอน[แก้]

บริการสุขภาพ[แก้]

ไฟล์:Medcenter.jpg
UCLA Medical Plaza, near the main entrance to the campus

คณะแพทยศาสตร์เดวิด เกฟเฟน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ร่วมกับโรงเรียนการพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส เป็นวิทยาลัยวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โครงการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีนาโนเป็นโครงกรที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาบาราเพื่อเป็นการวิจัยริเริ่มในเทคโนโลยีนาโน[40][42]

ศูนย์การแพทย์โรนัลด์ เรแกนมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุภาพมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสที่มีโรงพยาบาลให้บริการในเขตแซนตา มอนิกาและคลินิกทั่วไปถึง 12 แห่งทั่วทั้งลอสแอนเจลิส นอกจากที่คณะแพทยศาสตร์ใช้มีโรงพยาบาลที่เป็นสถานที่ฝึกแพทย์ที่สองแห่งปีศุนย์การแทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสฮาร์เบอร์และศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสโอลิฟวิว

ในปี 1981 ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้สร้างประวัติศาสตร์มีศาสตราจารย์คนหนึ่งได้พบการติดเชื้อรูปแบบหนึ่งที่ต่อมาพบว่าเป็นโรคเอดส์ นักวิจัยการแพทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้เริ่มใช้การสแกน PET เพื่อศึกษาการทำงานของสมองเป็นครั้งแรกเช่นกัน การส่งสัญญาต่อเนื่องของไนตริก ออกไซด์ซึ่งเป็นโมเลกุลสำคัญในสริระของปอดและหัวใจได้ยังได้รับการค้นพบจากศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนี้ ศาสตราจารย์ Louis J. Ignarro. จึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ปี 1998 ร่วมกับเพื่อนนักวิจัยอีกด้วย

การจัดอันดับในปี 2012 ของ U.S. News and World Report ได้กล่าวว่าศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสเป็นสถาบันที่ดีที่สุดในฝั่งตะวันตกและเป็นหนึ่งในห้าโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในประเทศอเมริกา โดยโรงเรียนแพทย์อยู่ในอันดับ 20 อันดับแรกเสมอ[43]

ชื่อเสียงและอันดับ[แก้]

Global rankings[แก้]

ในช่วงปี 2012–2013 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้รับการจัดอันดับว่ามีชื่อเสียงเป็นอันดับที่ 13 และที่ 8 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยเทมส์ ไฮเออร์ เอดูเคชัน[44][45] ในปี 2012 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้ชื่อว่าดีที่อันดับที่ 12 ในโลก (และที่ 10ในอเมริกาเหนือ) จากการจัดอันดับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยโลก[46] และที่ 23 ในโลกโดยการจัดอันดับของ Financial Times' Global MBA Rankings[47] ในปี 2012 ยังพบว่านักเรียนยูซีแอลเอมีความสามารถในการแข่งขันระหว่างบุคลากรอยู่ในอันดับที่ 14 ของประเทศ[48]

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาและวิชาชีพ[แก้]

คณะครุศาสตร์และสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้รับการจัดอันดับที่ 6 สำหรับบัณฑิตศึกษาในอเมริกาในปี 2013 โดย U.S. News & World Report[49] ในปีเดียวกันการจัดอันดับของ U.S. News & World Report ยังรวมไปถึงคณะบริการธุรกิจแอนเดอร์สันมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสอยู่ในอันดับที่ 15 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสอันดับที่ 10 สำหรับเวชศาสตร์ครอบครัวและ 13 สำหรับการวิจัย คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสอันดับที่ 15 คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสอันดับที่ 16 สำหรับการจัดอันดับตามสาขาวิชาการศึกษาพบว่าจิตเวชศาสตร์ที่ 1 จิตวิทยาที่ 3 ศิลปกรรมศาสตร์ที่ 4 ภูมิศาสตร์ที่ 4 [50] คณิตศาสตร์ที่ 8 ประวัติศาสตร์ที่9 สังคมวิทยาที่ 9 ภาษาอังกฤษที่ 10 สาธารณสุขศาสตร์ที่ 10[49] ในปี 2011 U.S. News & World Report จัดอันดับโรงเรียนการพยาบาลอยู่ที่อันดับที่ 21[51] ส่วนในปี 2009 โรงเรียนการละคร ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ได้อันดับที่ 3[ต้องการอ้างอิง] ส่วนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ที่ 2 ตาม The Key Centre for Architectural Sociology.[ต้องการอ้างอิง]จากการจัดอันดับของไทมส์ ไฮเออร์และคิวเอสยังพบว่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสมีชื่อจริงและได้รับการจัดอันดับที่สูงมากในหมู่วิทยาศาสตร์สุขภาพ เศรษฐศาสตร์ การบัญชี และมานุษยวิทยาซึ่งทุกสาขาวิชาต่างได้รับทุนวิจัยทางภาครัฐและเอกชนทุกปี

Powell Library, across the quad from Royce Hall

การรับเข้าศึกษา[แก้]

ก่อนบัณฑิตศึกษา[แก้]

สถิตินักศึกษาเข้าใหม่[14][52][53][54][55][56][57]

  2013
(คำนวณครั้งแรก)
2012 2011 2010 2009
ผู้สมคร 80,494 72,697 61,566 57,678 55,708
รับเข้าศึกษา 16,177 15,982 15,689 13,088 12,179
เปอร์เซ็นต์ที่รับเข้า 20.1% 22.0% 25.5% 22.7% 21.9%
ตกลงเข้าศึกษา N/A 5,621 5,825 4,636 4,472
เกรดเฉลี่ย N/A 4.21 4.22 4.25 4.24

ไม่รวมนักศึกษากรณีพิเศษ

UCLA ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เลือกนักศึกษาที่ "เก่งที่สุด" ตามข้อมูลจาก U.S. News & World Report. [58] มหาวิทยาลัยได้รับการสมัครจากนักเรียนมากกว่า 100,000 คนเพื่อเข้าศึกษาในปี 2013[59][60][61] ในปีการศึกษา 2013 ยูซีแอลเอถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ระบนักศึกษาน้อยที่สุดหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากมหาวิทยาลัยทั้งหมดในกลุ่มแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอยู่ที่ 20.1%.[62]

ข้อมูลตามเชื้อชาติ 2012[63] ก่อน
บัณฑิต
บัณฑิต เปอร์เซ็นต์
ชาวอเมริกันผิวดำ 1,083 498 3.9%
ชาวอเมริกันเอเซีย 9,954 2,560 31.3%
การอเมริกันเชื้อสายละติน 4,799 1,050 14.6%
ชาวอเมริกันท้องถิ่น (อินเดียแดง) 157 64 0.6%
ชาวอเมริกันผิวขาว 8,115 4,502 31.6%
ไม่เป็นที่ทราบ 938 1,009 4.9%
นานาชาติ 2,895 2,351 13.1%

ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากที่สุดแห่งหนึ่งและมีระบบรับเข้าตามรูปแบบของรัฐ ยังมีการโต้เถียงเกี่ยวกับการรับนักศึกษาเชื้อชาติแอฟริกาและละตินเข้าศึกษาน้อยโดยเฉพาะหลังจากการผ่านกฎหมายข้อเสนอที่ 209 ที่ไม่ให้สถาบันรัฐบาลแบ่งแยกสีผิว เพศ และเชื้อชาติในแคลิฟอร์เนีย[64] ในปีการศึกษา 2007 มหาวิทยาลัยได้เริ่มใช้การระบเข้าศึกษาที่มีการพิจรณาเป็นองค์รวมมากขึ้น[65]

นักเรียนที่จะเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2013 มีเกรดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 4.40 (3.88 จาก 4.0) และมีคะแนนสอบ SAT เฉลี่ยอยู่ที่ 2037 (667 สำหรับการอ่าน 690 สำหรับคณิตศาสตร์ 680 สำหรับการเขียน) และคะแนน ACT Composite 30[66]

บัณฑิตศึกษา[แก้]

Hugh and Hazel Darling Law Library, UCLA School of Law

ในปีการศึกษา 2010 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสรับผู้สมัครเพียง 3.9% เข้าศึกษา คณะนิติศาสตร์รับเพียง 20% ในปี 2012 คณะบริหารธุรกิจรับ 22.6%[67]

ตามข้อมูลจาก American Dental Education Association (ADEA) Guide to Dental Schools, 44th Ed. คณะทันตแพทยศาสตร์ได้รับการสมัครจากนักศึกษากว่า 1,465 คนแต่รับเข้าศึกษาจริงเพียง 88 คนในปี 2006[68] ในปี 1949

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ[แก้]

A hoodie from the UCLA Store

มหาวิทยาลัยมีผลกระทบทางเศรษฐกิจกับนครลอส แอนเจลิสเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้จ้างงานใหญ่อันดับที่ 4 ของเมืองด้วย[69][70]

ชีวิตนักศึกษา[แก้]

ด้วยที่ตั้งที่อยู่ในลอสแอนเจลิสทำให้การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ โรงภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆสะดวกและรวดเร็ว มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสมีวงดุริยงค์คลาสิก ทีมกีฬา และองค์กรนักเรียนกว่า 800 องค์กรที่แตกต่างกัน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสยังมีการใช้ชีวิตแบบภราดรอยู่อีกด้วยซึ่งเป็นอีกทางเลือกสำหรับนักศึกษาแต่การใช้ชีวิตหล่าวนี้ได้ถูกวิจารณ์จากภายนอกเรื่องการดื่มแอลดอฮอลล์และอุปนิสัยที่ไม่สู้ดีนัก[71] นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมากมายที่จัดโดยสมาคมนักเรียนและสมาคมศัษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสมีกลุ่มนักร้องประสานเสียงที่ใหญ่และมีชีวิตชีวา ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีองค์กรวัฒนธรรมเช่นชมรมญี่ปุ่นสองชมรม[72] ชมรมนักเรียนอเมริกันเชื้อสายจีน ชมรมนักเรียนจีน ชมรมนักเรียนไต้หวัน ชมรมนักเรียนเวียดนาม ไทยสมาคม ชมรมนาฏศิลป์จีน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะการทำเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒรธรรมของแต่ละกลุ่มประชาชน องค์กรหล่าวนี้ยังจัดการแสดงประจำปีเพื่แสดงออกถึงวัฒนธรรมโดยสมาคมไทยก็ได้จัดทำเช่นเดียวกัน โดยในปีผ่านๆมา ได้รับความสนใจจากชาวไทยในบริเวณลอสแอนเจลิสเป็นจำนวนมาก

ประเพณี[แก้]

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสมีประเพณีและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับนักศึกษา ชุมชน และเมืองโดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งนักศึกษาและบุคคลภายนอกโดยเฉพาะนักแสดงและคนดันในย่านนั้นๆด้วย

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสยังมีการตะโกนข้ามหอซึ่งจะคล้ายกับการตะโกนข้ามหอที่มหาวิทยาลัยมหิดลโดยเป็นการคลายเครียดจากการท่องสอบ

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม คอนเสิร์ต และอื่นๆอีกมากที่สามารถค้นพบได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

ศิษย์เก่าและอาจารย์ที่มีชื่อเสียง[แก้]

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้รับเกียรติจากสถาบันต่างๆมากมาย

สมาคม อาจารย์ที่มีสมาชิกภาพ
American Academy of Arts and Sciences 120
American Association for the Advancement of Science 114
American Philosophical Society 16
Institute of Medicine 37
National Academy of Engineering 22
National Academy of Sciences 50
National Academy of Education 7

อาจารย์และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยยังได้รับรางวัลมากมาย:

  • 105 Academy Award
  • 278 Emmy Award
  • 1 Fields Medal
  • 2 Turing Award
  • 11 Fulbright Program|Fulbright Scholars (ตั้งแต่ 2000)
  • 78 Guggenheim Fellows[73]
  • 11 MacArthur Fellows
  • 10 National Medal of Science
  • 14 รางวัลโนเบล
  • 3 Presidential Medal of Freedom
  • 1 Pritzker Prize in Architecture
  • 3 Pulitzer Prize
  • 12 Rhodes Scholars
  • 1 Medal of Honor

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกได้แก่

ชาวไทย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "UC Annual Endowment Report, Fiscal Year Ended June 30, 2012; p.4" (PDF). Office of the Treasurer of the Regents of the University of California. สืบค้นเมื่อ 2013-01-07. 
  2. UCLA (2007). "Gene D. Block". UCLA. สืบค้นเมื่อ 2007-05-16. 
  3. "UCLA Administration". Official site. Current. สืบค้นเมื่อ 2007-05-20. 
  4. "UCLA Gateway". Official site. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-16. 
  5. 5.0 5.1 5.2 [1][ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 "UC Financial Reports – Campus Facts in Brief; p.8-9" (PDF). University of California. 2010-11. สืบค้นเมื่อ November 17, 2012. 
  7. 7.0 7.1 "Graphics Standards Manual" (PDF). University of California, Los Angeles. 2004-09-08. สืบค้นเมื่อ 2008-03-16. 
  8. Ho, Melanie (2005). "Bruin Bear". UCLA English department. Archived from the original on February 19, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-20. 
  9. "Fall 2008 Admissions Table" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2012-10-14. 
  10. Frammolino, Ralph; Gladstone, Mark; Weinstein, Henry (1996-03-21). "UCLA Eased Entry Rules for the Rich, Well-Connected". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2011-05-27. "The controversy over private admissions preferences strikes at the heart of the dilemma over how to allocate limited slots for undergraduates. At Berkeley and UCLA, the flagship campuses, the competition is particularly acute, and admissions officers must turn away thousands of qualified applicants each year." 
  11. Gordon, Larry (2011-05-09). "University of California weighs varying tuitions at its 10 campuses". L.A. Times. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17. "In contrast, UC has UC Berkeley and UCLA, both often considered flagships, and several other campuses with high national rankings, he and other analysts said" 
  12. Song, Jason (2007-12-11). "THE NATION; Higher-earning families to get a break at Harvard; Tuition will be slashed to 10% of income for those making $180,000 a year or less, making it cheaper than UCLA". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2011-05-20. "That means any student that comes from such a family will pay less to attend Harvard than most flagship public universities, including UCLA" 
  13. "How To Get Into the Nations Most Celebrated Colleges". Los Angeles Magazine. 2005. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25. "The Ivy League Schools and their ilk (Stanford) and the flagship UC campuses dominate their lists...and a few other less competitive UC Campuses (San Diego, Santa Barbara, Irvine) as fall-backs." 
  14. 14.0 14.1 Vazquez, Ricardo. (2013-01-18) UCLA sets new undergraduate applications record / UCLA Newsroom. Newsroom.ucla.edu. Retrieved on 2013-07-14.
  15. "UCLA admits more than 15,000 students for Fall 2012 freshman class". Daily Bruin. 
  16. Bartlett, Lauren (2007-01-24). "UCLA Remains the Country’s Most Popular University with More Than 50,000 High School Seniors Applying for Fall / UCLA Newsroom". Newsroom.ucla.edu. สืบค้นเมื่อ 2012-10-14. 
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NobelFaculty
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NobelAlumni
  19. "Terence Tao, 'Mozart of Math,' wins Fields Medal, called 'Nobel Prize in math'". EurekAlert. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20. 
  20. "Professor Judea Pearl receives Alan Turing award for work on artificial intelligence". Daily Bruin. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20. 
  21. "UCLA Research Facts". Office of the Vice Chancellor for Research. 2006–2007. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14. 
  22. "Member Institutions and Years of Admission". Association of American Universities. 
  23. "NCAA". NCAA. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14. 
  24. "UCLA Champions Made Here". UCLA Official Athletic Site. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14. 
  25. "UCLA Bruins All-Time Olympians". http://www.uclabruins.com. UCLA. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013. 
  26. "UCLA Bruins". 
  27. Hamilton, Andrew (2004-06-18). "(UC) Los Angeles: Historical Overview". University of California History, Digital Archives (from Berkeley). สืบค้นเมื่อ 2006-06-20. 
  28. "UCLA University Archives". UCLA Library. 2007-01-20. Archived from the original on 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20. 
  29. Garrigues, George (2001). "The Daily Bruin Is Born". Loud Bark and Curious Eyes, A History of the UCLA Daily Bruin, 1919–1955. Archived from the original on May 28, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03. 
  30. UCLA Alumni (2012). "History: The Beginning". UCLA Alumni. สืบค้นเมื่อ 2013-04-04. 
  31. Ko, Amy (1999). "Caught on Tape: Voices from UCLA's Past". UCLA Today. Archived from the original on 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2008-01-25. 
  32. "Billy Fitzgerald, The Bruin". 
  33. Kyle Swanson (2009). "In tough times, 'U' pushes forward with fundraising efforts". The Michigan Daily. สืบค้นเมื่อ 2009-11-15. 
  34. Lindy Stevens (2009). "$3.2 billion Michigan Difference total announced". The Michigan Daily. สืบค้นเมื่อ 2009-11-15. 
  35. Hampton, Phil (2006). "UCLA Raises More Than $3 Billion ... Research Universities". UCLA News. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18. 
  36. Hampton, Phil (2011). "Local business leader donates $100 million to transform UCLA's role in civic participation, education of future public leaders". UCLA News. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14. 
  37. Hampton, Phil (2011). "UCLA receives $200 million gift to create unique philanthropic fund". UCLA News. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14. 
  38. "Map of UNIVERSITY of California". Mapquest. Current. สืบค้นเมื่อ 2007-05-29. 
  39. "Welton Becket and Associates". Emporis Buildings. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-29. 
  40. 40.0 40.1 Lee, Cynthia (2004-10-12). "A 'sense of place' from the old and new". UCLA Today. Archived from the original on January 28, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-05-29. 
  41. Morabito, Sam (2004-01-23). "UCLA Policy 863: Filming and Photography on Campus". UCLA Administrative Policies & Procedures Manual. Archived from the original on September 1, 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-05-21. 
  42. "About CNSI". California NanoSystems Institute. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-05-21. 
  43. "Ronald Reagan UCLA Medical Center rated one of top hospitals in the U.S.". UCLA Health System. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-06. 
  44. "The World University Rankings". The Times Higher Educational Supplement. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-03-24. 
  45. "Top Universities by Reputation 2012". Times Higher Education World University Rankings 2011–2012. Thomson Reuters. 2012. สืบค้นเมื่อ 25 March 2012. 
  46. "Academic Ranking of World Universities - 2012". สืบค้นเมื่อ 2013-01-02. 
  47. "Business school rankings from the Financial Times – Global MBA Rankings 2013". Rankings.ft.com. สืบค้นเมื่อ 2013-02-02. 
  48. "Hrlr 300 best world universities 2012". ChaseCareer Network. 
  49. 49.0 49.1 "America's Best Graduate Schools 2013". U.S. News & World Report. 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-01-23. 
  50. "World's Best Universities: Geography and Area Studies". U.S. News and World Report. 2011. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013. 
  51. "America's Best Graduate Schools - Nursing". U.S. News & World Report. 2011. สืบค้นเมื่อ 2013-01-27. 
  52. "Profile of Admitted Freshmen Fall 2011". Official site. 2011-04-01. สืบค้นเมื่อ 2011-04-01. 
  53. Vazquez, Ricardo (2012-01-12). "UCLA receives record number of applications from increasingly diverse student pool". UCLA Newsroom. สืบค้นเมื่อ 2012-07-14. 
  54. [2][ลิงก์เสีย]
  55. [3][ลิงก์เสีย]
  56. "Profile of Admitted Freshmen Fall 2012". Official UCLA admissions site. สืบค้นเมื่อ 2012-11-17. 
  57. Vazquez, Ricardo (2013-04-18). "UCLA admits more than 16,000 exceptional students for its fall 2013 freshman class". UCLA Newsroom. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18. 
  58. "University of California--Los Angeles". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2013-01-26. 
  59. "Acceptance Table- All New Freshmen" (PDF). University of California Office of the President, Student Affairs, UC Central Application Processing file. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05. 
  60. "UCLA sets new undergraduate applications record". "UCLA Newsroom". สืบค้นเมื่อ 2013-04-21. 
  61. "freshman admit rates } url=http://www.ucop.edu/news/factsheets/2013/fall_2013_admissions_table2.pdf". University of California Office of the President, Student Affairs, Admissions. 
  62. "UCLA receives most freshman applications of any U.S. public college". "Los Angeles Times". สืบค้นเมื่อ 2013-04-24. 
  63. "Enrollment Summary, Fall 2012". UCLA Office of Analysis and Information Management. สืบค้นเมื่อ 2012-12-06. 
  64. Leonhardt, David (2007-09-30). "The New Affirmative Action". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-09-28. 
  65. Smallwood, Scott (2006-09-29). "UCLA Adopts 'Holistic' Model in Admissions to Stem Decline in Minority Enrollment". The Chronicle of Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2007-05-21. 
  66. "Profile of Admitted Freshmen, Fall 2013". UCLA Office of Admissions. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24. 
  67. "2012 U.S. News Ranking of the Best B-Schools". U.S. News & World Report. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05. 
  68. "UCLA School of Dentistry Annual Report". UCLA School of Dentistry. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15. 
  69. Largest Employers in Los Angeles County. Compiled by the LA Almanac, Source: California Employment Development Department, The Los Angeles Business Journal, and Almanac research
  70. "UCLA — A Smart Investment for the Greater Los Angeles Region ... and Beyond". Ucla.edu. สืบค้นเมื่อ 2011-09-11. 
  71. UCLA Fraternity & Sorority Relations. Greeklife.ucla.edu. Retrieved on 2013-07-14.
  72. Ucla Jsa. Studentgroups.ucla.edu. Retrieved on 2013-07-14.
  73. "UCLA Profile". Aim.ucla.edu. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]