กองทัพสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพสหรัฐ
United States Joint Service Color Guard on parade at Fort Myer
The U.S. Joint Service Color Guard on parade at Fort Myer, Virginia in October 2001.
เหล่า Flag of the United States Army.svg กองทัพบก
Flag of the United States Marine Corps.svg เหล่านาวิกโยธิน
Flag of the United States Navy.svg กองทัพเรือ
Flag of the United States Air Force.svg กองทัพอากาศ
Flag of the United States Coast Guard.svg หน่วยยามฝั่ง
ที่ตั้ง บก. เดอะเพนตากอน, อาร์ลิงตันเคาน์ตี, รัฐเวอร์จิเนีย, สหรัฐ
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการสูงสุด Flag of the President of the United States of America.svg ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์
รัฐมนตรีกลาโหม Flag of the United States Secretary of Defense.svg เจมส์ แมตทิส
ประธานเสนาธิการร่วม Flag of the Chairman of the US Joint Chiefs of Staff.svg พลเอก โจเซฟ ดันฟอร์ด
กำลังพล
อายุถึงขั้น
รับราชการ
17 ปี โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง, 18 ปีโดยสมัครใจ อายุการสมัครเข้าเป็นทหารสูงสุด 35 ปีสำหรับกองทัพบก[1] 28 ปีสำหรับนาวิกโยธิน, 34 ปีสำหรับกองทัพเรือ และ 27 ปีสำหรับกองทัพอากาศ[2]
ประชากร
ในวัยรับราชการ
ชาย 73,270,043  อายุ 18–49 (ประเมิน 2553),
หญิง 71,941,969  อายุ 18–49 (ประเมิน 2553)
ประชากร
ฉกรรจ์
ชาย 60,620,143 , อายุ 18–49 (ประเมิน 2553),
หญิง 59,401,941 , อายุ 18–49 (ประเมิน 2553)
ประชากรที่อายุถึงขั้น
รับราชการทุกปี
ชาย 2,161,727 (ประเมิน 2553),
หญิง 2,055,685 (ประเมิน 2553)
ยอดกำลังประจำการ 1,429,995[3] (อันดับที่ 2)
ยอดกำลังสำรอง 850,880[4] (อันดับที่ 10)
รายจ่าย
งบประมาณ $554,200 ล้าน + $88,500 ล้าน (ปีงบฯ 2556)[4][5](อันดับที่ 1 คิดจากรายจ่ายทั้งหมด และอันดับที่ 11 คิดจากร้อยละต่อจีดีพี)
ร้อยละต่อจีดีพี 4.9% (ประเมิน 2554)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติ สงครามปฏิวัติอเมริกัน
สงครามกลางเมืองอเมริกัน (1861–1865)
สงครามโลกครั้งที่ 1 (1917–1918)
สงครามโลกครั้งที่ 2 (1941–1945)
สงครามเย็น (1945–1991)
สงครามเกาหลี (1950–1953)
สงครามเวียตนาม (1959–1975)
สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1990–1991)
สงครามคอซอวอ (1999)
สงครามต่อต้านการก่อการร้าย (2001–ปัจจุบัน)
สงครามอัฟกานิสถาน (2001–ปัจจุบัน)
สงครามอิรัก (2003–2011)
ฯลฯ

กองทัพสหรัฐ (อังกฤษ: United States Armed Forces) เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน, กองทัพอากาศและหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม

ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นหน่วยยามฝั่ง หน่วยยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ

นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947 ซึ่งผ่านมติเห็นชอบในช่วงเริ่มแรกของสงครามเย็น ได้จัดตั้งกรอบทหารสหรัฐสมัยใหม่ รัฐบัญญัติดังกล่าวรวมกระทรวงสงคราม และ กระทรวงทหารเรือในอดีตเข้าด้วยกันเป็นหน่วยจัดตั้งทหารแห่งชาติ (National Military Establishment) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมใน ค.ศ. 1949 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้นำ ตลอดจนตั้งกระทรวงทหารอากาศและสภาความมั่นคงแห่งชาติ

กองทัพสหรัฐนับเป็นหนึ่งในกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ยอดกำลังพล กำลังพลได้มาจากอาสาสมัครจำนวนมากซึ่งได้รับค่าตอบแทน แม้ในอดีตจะมีการเกณฑ์ทหารทั้งในยามสงครามและยามสงบ แต่ไม่มีการเกณฑ์ทหารอีกนับแต่ ค.ศ. 1972 ใน ค.ศ. 2013 สหรัฐมีรายจ่ายเพื่อสนับสนุนกองทัพราว 554,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี และจัดสรรงบประมาณราว 88,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการการเผชิญเหตุโพ้นทะเล (Overseas Contingency Operation) เมื่อรวมกันแล้ว สหรัฐมีรายจ่ายทางทหารเป็นร้อยละ 39 ของรายจ่ายทางทหารโลก

อ้างอิง[แก้]

  1. "United States Army". สืบค้นเมื่อ 18 June 2013. 
  2. "United States". The World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 29 March 2013. 
  3. "Armed Forces Strength Figures for January 31, 2013". United States Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 29 March 2013. 
  4. 4.0 4.1 "H.R. 4310 (112th): National Defense Authorization Act for Fiscal Year 2013". GovTrack. สืบค้นเมื่อ 29 March 2013. 
  5. "US Defense Budget Proposal Released For Fiscal Year 2014". June 06, 2013. 

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:ประเทศสหรัฐ แม่แบบ:กองทัพสหรัฐ