ประเทศเนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮอลแลนด์" หรือ "ฮอลันดา" เป็นชื่อเก่าของเนเธอร์แลนด์ สำหรับความหมายอื่นดูที่ ฮอลแลนด์ (แก้ความกำกวม)
เนเธอร์แลนด์
Nederland (ดัตช์)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญJe Maintiendrai
Ik zal handhaven,
("I Shall Uphold")
เพลงชาติวิลเฮลมัส
Wilhelmus van Nassouwe
วิลเฮลมัสแห่งนัสซอ
ที่ตั้งของ เนเธอร์แลนด์ในทวีปยุโรป  (เขียวเข้ม)– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)
ที่ตั้งของ เนเธอร์แลนด์ในทวีปยุโรป  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

เมืองหลวง อัมสเตอร์ดัม1
52°21′N 04°52′E / 52.350°N 4.867°E / 52.350; 4.867
เมืองใหญ่สุด อัมสเตอร์ดัม
ภาษาราชการ ภาษาดัตช์2
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
 -  พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์
 -  นายกรัฐมนตรี มาร์ก รีตเตอ
เอกราช จาก สงครามแปดสิบปี 
 -  ประกาศ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1581 
 -  เป็นที่ยอมรับ 30 มกราคม ค.ศ. 1648 (จาก สเปน
เข้าร่วมสหภาพยุโรป 25 มีนาคม ค.ศ. 1957
พื้นที่
 -  รวม 41,526 ตร.กม. (131)
16,033 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 18.41%
ประชากร
 -  2559 (ประเมิน) 17,045,900 (59)
 -  2559 (สำมะโน) 17,045,900 
 -  ความหนาแน่น 395 คน/ตร.กม. (15)
1,023 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2006 (ประมาณ)
 -  รวม 625.271 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (16)
 -  ต่อหัว 30,500 ดอลลาร์สหรัฐ (15)
HDI (2556) 0.915 (สูงมาก) (4)
สกุลเงิน ยูโร 3 (€ EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 •  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
โดเมนบนสุด .nl
รหัสโทรศัพท์ 31

เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland [ˈneːdərˌlɑnt] เนเดอร์ลอนต์; อังกฤษ: Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (อังกฤษ: Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร[1] ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก[2] ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง[3][4] หรือไม่เป็นทางการ[5] ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ[6]

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร[7][8] ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก"[9] ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ[10] ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง[11]

ภูมิศาสตร์[แก้]

สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นน้ำทะเลมาก่อนดังนั้นประเทศนี้จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเพียงทางตะวันออกเฉียงใต้ในเขตลิมเบิร์ก เท่านั้นสามารถพบเห็นเนินเขาได้ แม่น้ำไรน์ที่ไหลมาจากเยอรมนี เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงทำให้ต้องสร้างเขื่อน เพื่อไม่ให้นำทะเลไหลท่วมได้ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเหนือ จึงได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นด้วย ทำให้ภูมิอากาศของประเทศอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง มากถึง 700 มิลลิเมตรต่อปี

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 เนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และมีสันติภาพยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลา 250 ปี ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง ชนเผ่าเยอรมันนิก และเคลติก ได้เข้าไปครอบครองพื้นที่แถบนั้น

ในช่วงปี พ.ศ. 1906-2025 เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดี และในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องเอกราชให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์ได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี ถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์ด้วย

หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่าง ๆ ของโลก เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก

เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสองจึงได้แยกออกจากกันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839)

เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี กองทัพเวร์มัคท์ ได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2483-2488 ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรปและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินามประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ส่วนเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสและอารูบายังคงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

การเมืองการปกครอง[แก้]

รัฐธรรมนูญ[แก้]

บริหาร[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลเนเธอร์แลนด์

นิติบัญญัติ[แก้]

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาเนเธอร์แลนด์

ตุลาการ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กฎหมายเนเธอร์แลนด์

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ประเทศเนเธอร์แลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 จังหวัด (provincie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวง ได้แก่

  1. เดรนเทอ
  2. เฟลโวลันด์‎
  3. ฟรีสแลนด์
  4. เกลเดอร์ลันด์
  5. โกรนิงเงิน
  6. ลิมบูร์ก
  7. นอร์ทบราบันต์
  8. นอร์ทฮอลแลนด์
  9. โอเวอร์เอเซิล
  10. เซาท์ฮอลแลนด์
  11. ยูเทรกต์
  12. เซแลนด์

ต่างประเทศ[แก้]

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]

ความสัมพันธ์เนเธอร์แลนด์ – ไทย
Map indicating location of เนเธอร์แลนด์ and ไทย

เนเธอร์แลนด์

ไทย
  • การทูต
  • การค้าและเศรษฐกิจ
  • การศึกษาและวิชาการ

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพเนเธอร์แลนด์

กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเทอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก

ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย เพราะสามารถไปได้ไกล ๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเชียและอเมริกามาแต่สมัยโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation) และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน

การท่องเที่ยว[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

พิพิธภัณฑ์โครงการเดลต้า แสดงหุ่นจำลองของพื้นที่ระบายน้ำ/ระบบกันน้ำท่วม

เมืองที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเนเธอร์แลนด์ เช่น อัมสเตอร์ดัม รอตเทอร์ดาม กรุงเฮก เดลฟ์ท

  • Keukenhof สวนดอกทิวลิป
  • IJsselmeer Outdoor Museum/ The Zuiderzee Museum เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่แสดงวิถีชีวิตของชาวดัตช์ในสมัยโบราณ อาหารการกิน บ้านเรือนและสถาปัตยกรรม
  • เมือง Giethorn Water City ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น Venice of Holland เป็นเมืองที่อาศัยกับลำน้ำคูคลองมีเทศกาลพาเรดกลางน้ำในตอนกลางคืนให้ชม วิธีการชมก็คือการนั่งเรือออกไป
  • Archeon Park, อยู่ที่ Alphen aan den Rijn เป็นกึ่งสวนสนุกและพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ มีการจัดบรรยากาศให้มีความโบราณ ไล่มาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโรมัน ยุคกลาง ฯลฯ การจัดแสดงและสื่อความหมายใช้คนแสดงเป็นหลัก
  • Efteling Park, ที่ Kaastsheuvel เป็นสวนสนุกที่มีบรรยากาศเป็นอุทยานหรือสวนสาธารณะที่เป็นธรรมชาติ เคยได้รับรางวัล Applause award ว่าเป็นสวนสนุกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หากใครเคยไปสวนสนุกแบบอเมริกัน เช่นดิสนีย์แลนด์มาแล้ว Efteling ให้รสชาติอีกแบบหนึ่งไม่แพ้กันเลยทีเดียว
  • เมืองตุ๊กตา เมืองจำลอง Madurodam Miniature land เมืองจำลองขนาดเล็กที่อธิบายเกี่ยวกับสถานที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ได้อย่างครบถ้วน
  • Polder museum หรือพิพิธภัณฑ์การเกิดแผ่นดินใหม่ และโครงการ Delta projects ที่แสดงเทคโนโลยีการกันน้ำท่วมของชาวดัตช์ตั้งแต่อดีต แสดงให้เห็นว่าชาวดัตช์ใช้ความรู้ ความอดทน และความเป็นนักสู้ต่อสู้กับธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับสภาพการณ์นั้นอย่างชาญฉลาดอย่างไร วิศวกรรมและศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องถูกนำมาจัดแสดงในหลากหลายระดับ ให้คนเลือกดูเลือกชมและได้รับความรู้ที่แตกต่างกันไป ตามอัธยาศัย

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]

การศึกษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: การศึกษาในเนเธอร์แลนด์

สาธารณสุข[แก้]

ประชากร[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีประชากร 16,105,285 คน (ปี 2544) โดยมีอัตราความหนาแน่น 395 คนต่อ ตร. กม. นับได้ว่าอยู่อันดับที่ 23 ของโลก นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5[12] และยังเป็นประเทศที่มีอัตราความสูงของผู้อยู่อาศัยสูงที่สุดในโลก โดยผู้ชายมีความสูง 1.81 เมตร และผู้หญิงสูง 1.68 เมตรอีกด้วย [13]

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีประชาชนหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่อาศัย ดังนี้

ที่ เชื้อชาติ จำนวน (ร้อยละ)
1. ดัตช์ 80.8
2. เยอรมัน 2.4
3. อินโดนีเซีย 2.4
4. เติร์ก 2.2
5. ชาวซูรินาม 2
6. โมร็อกโก 1.9
7. อินเดีย 1.5
8. ชาวแอนทิลลีสและชาวอารูบา 0.8
9. อื่นๆ 6

นอกจากนั้นยังมีผู้อาศัยที่มีเชื้อผสมระหว่างอินโดนีเซียกับดัตช์อีกกว่า 8 แสนคน

ศาสนา[แก้]

ร้อยละ 27 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 17 นับถือนิกายโปแตสแตนท์ ร้อยละ 6 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1 นับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 1 นับถือศาสนาพุทธ

ภาษา[แก้]

กีฬา[แก้]

ผู้คนกว่า 4.5 ล้านคน ในเนเธอร์แลนด์ ได้ลงทะเบียนกับสโมสรกีฬาที่มีกว่า35,000แห่งในเนเธอร์แลนด์ ผู้คน 2 ใน 3 ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี จะเล่นกีฬาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์.ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในเนเธอร์แลนด์ และตามด้วยฮอคกี้และวอลเลย์บอลตามลำดับ กอล์ฟ,ยิมนาสติกและเทนนิส เป็นกีฬาประเภทเดียวที่นิยมกันในเนเธอร์แลนด์ องค์กรณ์เกี่ยวกับกีฬาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 สหพันธ์การกีฬาได้ถูกสร้างขึ้นมา.กฏกีฬาได้ถูกประกาศออกมาเป็นทางการ และได้มีสโมสรกีฬาเป็นทางการ.คณะกรรมการโอลิมปิกของดัตซ์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.1912.และจนถึงบัดนี้ เนเธอร์แลนด์สามารถคว้าเหรียญมาได้ 230 เหรียญในกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน และอีก 78 เหรียญในกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว

วัฒนธรรม[แก้]

ดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมเนเธอร์แลนด์

วรรณกรรม[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ศิลปะ[แก้]

ดนตรี[แก้]

อาหาร[แก้]

สื่อสารมวลชน[แก้]

วันหยุด[แก้]

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีวันคริสต์มาส 2 ครั้ง วันที่ 5 และ 25 ธันวาคม ถือว่าเป็นวันคริสต์มาสทั้ง 2 วัน วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันฉลองวันนิโคลัสอีฟ โดยมีเรื่องเล่ากันว่า วันที่ 3 พฤศจิกายน เซนต์นิโคลัสหรือซานตาคลอสจะขึ้นม้าจากสเปน มุ่งหน้ามายังกรุงอัมสเตอร์ดัม

อ้างอิง[แก้]

  1. "North Sea". Ministry of Defence. สืบค้นเมื่อ 6 March 2012. 
  2. Permanent Mission of the Netherlands to the UN. "General Information". สืบค้นเมื่อ 26 June 2013. 
  3. "The Reuters Style Guide". สืบค้นเมื่อ 31 March 2014. 
  4. "The BBC News Styleguide". สืบค้นเมื่อ 31 March 2014. 
  5. "Telegraph style book: places and peoples". สืบค้นเมื่อ 31 March 2014. 
  6. "The Guardian style guide". สืบค้นเมื่อ 31 March 2014. 
  7. "Milieurekeningen 2008". Centraal Bureau voor de Statistiek. สืบค้นเมื่อ 4 February 2010. 
  8. "Netherlands Guide – Interesting facts about the Netherlands". Eupedia. 19 April 1994. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010. 
  9. van Krieken, Peter J.; David McKay (2005). The Hague: Legal Capital of the World. Cambridge University Press. ISBN 90-6704-185-8.  , specifically, "In the 1990s, during his term as United Nations Secretary-General, Boutros Boutros-Ghali started calling The Hague the world's legal capital."
  10. Netherlands ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (archived พฤษภาคม 10, 2013)., Index of Economic Freedom. heritage.org
  11. "Where is the happiest place on Earth? | The Search Office Space Blog | Searchofficespace". News.searchofficespace.com. 25 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 October 2011. 
  12. "Top 35 countries with the highest internet penetration rate". InternetWorldStats.com. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20. 
  13. "Reported health and lifestyle". Centraal Bureau voor de Statistiek. สืบค้นเมื่อ 2007-08-28. 

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การศึกษา
การท่องเที่ยว
  • Holland.com – English website of the Netherlands tourist office
  • netherlands-tourism.com – Tourism guide to the Netherlands
  • nbtc.nl – Organisation responsible for promoting the Netherlands nationally and internationally