www.fgks.org   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนามาณีกี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขคำให้ตรงเสียงจีนกลาง
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:


ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่าชาวมานีหรือชาวมานีเชียน ซึ่งในปัจจุบันคำว่ามานีเชียนได้ใช้หมายรวมถึงผู้มีแนวคิดทาง[[จริยศาสตร์]]รูปแบบหนึ่งที่มอง[[ศีลธรรม]]แบบ[[ทวินิยม]] คือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน
ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่าชาวมานีหรือชาวมานีเชียน ซึ่งในปัจจุบันคำว่ามานีเชียนได้ใช้หมายรวมถึงผู้มีแนวคิดทาง[[จริยศาสตร์]]รูปแบบหนึ่งที่มอง[[ศีลธรรม]]แบบ[[ทวินิยม]] คือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน

== วรรณกรรม ==
ถูกกล่าวถึงในนิยายของกิมย้ง ในเรื่องชุด[[มังกรหยก]] ในชื่อนิกายเม้งก่า มีท่านปรมาจารย์ปู่เต็งเอี๊ยงเป็นเจ้าสำนัก ท่านกลับไม่คิดอยากได้ คัมภีร์เก้าอิม ที่ใครต่อใครล้วนปรารถนา ดังนั้นจึงคิดทำลายทิ้ง ป้องกันมิให้ยุทธภพเกิดความปั่นป่วนอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพำเพ็ญพรตขั้นสูงของนักพรตในนิกายนี้


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:49, 31 ธันวาคม 2558

ศาสนามาณีกี[1] หรือ ศาสนามานี หรือ มานีธรรม (मानी धर्म - Manichaeism) เป็นศาสนาแบบไญยนิยม (Gnosticism) ที่มีต้นกำเนิดในจักรวรรดิเอรานชาหร์ มีพระมานีหัยยา (मानी हय्या) เป็นศาสดา แม้ว่างานเขียนของท่านจะหายสาบสูญไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงมีฉบับแปลในภาษาต่าง ๆ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

ศาสนามานี หรือ หมอหนีเจี้ยว หรือ ม๊อนี้ก่า (摩尼教) สอนเชิงจักรวาลวิทยาว่าจักรวาลแบ่งออกเป็นของด้าน คือด้านความดีงาม จิตวิญญาณ และความสว่าง กับความชั่วร้าย วัตถุ และความมืด สันนิษฐานว่าศาสนามานีได้รับแนวคิดนี้มาจากแนวคิดของพวกไญยนิยมในเมโสโปเตเมีย[2]

ศาสนามานีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและซิเรียก[3]ราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 - 7 จนกลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งในยุคนั้น ศาสนจักรมานีแพร่ไปทางตะวันออกไกลถึงประเทศจีน และทางตะวันตกไกลถึงจักรวรรดิโรมัน[4] โดยมีศาสนิกชนส่วนมากเป็นทหาร จนได้ชื่อว่าเป็นศาสนาของกองทัพ และกลายเป็นคู่แข่งของศาสนาคริสต์ แทนลัทธิเพกันที่เสื่อมไปก่อนหน้านั้นแล้ว ศาสนามานีในภูมิภาคตะวันออกดำรงอยู่นานกว่าทางตะวันตก โดยโดยเสื่อมสลายไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทางใต้ของจีน[5]

ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่าชาวมานีหรือชาวมานีเชียน ซึ่งในปัจจุบันคำว่ามานีเชียนได้ใช้หมายรวมถึงผู้มีแนวคิดทางจริยศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่มองศีลธรรมแบบทวินิยม คือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน

วรรณกรรม

ถูกกล่าวถึงในนิยายของกิมย้ง ในเรื่องชุดมังกรหยก ในชื่อนิกายเม้งก่า มีท่านปรมาจารย์ปู่เต็งเอี๊ยงเป็นเจ้าสำนัก ท่านกลับไม่คิดอยากได้ คัมภีร์เก้าอิม ที่ใครต่อใครล้วนปรารถนา ดังนั้นจึงคิดทำลายทิ้ง ป้องกันมิให้ยุทธภพเกิดความปั่นป่วนอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพำเพ็ญพรตขั้นสูงของนักพรตในนิกายนี้

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 186
  2. Widengren, Geo Mesopotamian elements in Manichaeism (King and Saviour II): Studies in Manichaean, Mandaean, and Syrian-gnostic religion, Lundequistska bokhandeln, 1946.
  3. Jason BeDuhn; Paul Allan Mirecki (2007). Frontiers of Faith: The Christian Encounter With Manichaeism in the Acts of Archelaus. BRILL. pp. 6–. ISBN 978-90-04-16180-1. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
  4. Andrew Welburn, Mani, the Angel and the Column of Glory: An Anthology of Manichaean Texts (Edinburgh: Floris Books, 1998), p. 68
  5. Jason David BeDuhn The Manichaean Body: In Discipline and Ritual Baltimore: Johns Hopkins University Press. 2000 republished 2002 p.IX