www.fgks.org   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิเลส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
* [[อนุสัย]]กิเลส (Latent Defilements) กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
* [[อนุสัย]]กิเลส (Latent Defilements) กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
* ปริยุฏฐานกิเลส (Internally Active Defilements) กิเลสอย่างกลางคือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งทางความคิด ได้แก่ กิเลสประเภท[[นิวรณ์]] 5
* ปริยุฏฐานกิเลส (Internally Active Defilements) กิเลสอย่างกลางคือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งทางความคิด ได้แก่ กิเลสประเภท[[นิวรณ์]] 5
* วีติกกมกิเลส (Externally Active Defilements) กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสที่ทำให้สัตว์สร้างกรรมขึ้นมาทางกายและวาจา
* วีติกกมกิเลส (Externally Active Defilements) กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสที่ทะลักออกมาทำให้สัตว์สร้างกรรมขึ้นมาทางกายและวาจา


กิเลสอย่างละเอียด สงบได้ด้วยปัญญา,กิเลสอย่างกลาง สงบได้ด้วยสมาธิ,กิเลสอย่างหยาบ สงบได้ด้วยศีล
กิเลสอย่างละเอียด สงบได้ด้วยปัญญา,กิเลสอย่างกลาง สงบได้ด้วยสมาธิ,กิเลสอย่างหยาบ สงบได้ด้วยศีล

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 19:40, 19 ธันวาคม 2566

กิเลส (บาลี: กิเลส; สันสกฤต: क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง[1]

กิเลสมี 3 ระดับ คือได้แก่

  • อนุสัยกิเลส (Latent Defilements) กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
  • ปริยุฏฐานกิเลส (Internally Active Defilements) กิเลสอย่างกลางคือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งทางความคิด ได้แก่ กิเลสประเภทนิวรณ์ 5
  • วีติกกมกิเลส (Externally Active Defilements) กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสที่ทะลักออกมาทำให้สัตว์สร้างกรรมขึ้นมาทางกายและวาจา

กิเลสอย่างละเอียด สงบได้ด้วยปัญญา,กิเลสอย่างกลาง สงบได้ด้วยสมาธิ,กิเลสอย่างหยาบ สงบได้ด้วยศีล

วจนัตถะ[แก้]

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา แปลว่า ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน เศร้าหมอง ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กิเลส

กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา แปลว่า สัมปยุตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมอง เร่าร้อน ด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้นธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเร่าร้อนของสัมปยุตนั้น จึงชื่อว่า กิเลส

กิเลสวัตถุ[แก้]

ในวิภังคปกรณ์ระบุว่า กิเลสวัตถุ 10 ได้แก่[2]

  1. โลภะ ความอยากได้ในสิ่งของ เงินทอง ทรัพย์สิน ที่ดินหรือลาภอื่นๆที่ไม่ใช่ของๆตน
  2. โทสะ ความคิดประทุษร้าย ทำลาย
  3. โมหะ ความหลง มัวเมา
  4. มานะ ความถือตัว
  5. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
  6. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
  7. ถีนะ ความหดหู่
  8. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
  9. อหิริกะ ความไม่ละอายบาป
  10. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป

อ้างอิง[แก้]

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), กิเลส 10, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  2. ทสกนิเทศ, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์